ประโยชน์ของข้าว และ กินข้าวอย่างไรไม่ให้อ้วน

ประโยชน์ของข้าว ดีต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง กินข้าวอย่างไรไม่ให้อ้วน ข้าว จัดว่าเป็นอาหารหลักที่อยู่คู่กับคนไทยมาเป็นเวลาช้านานแล้ว สารอาหารในข้าวมีประโยชน์หลายอย่าง ดังนั้นอย่าคิดว่าเลิกกินข้าวดีกว่า เพราะว่ากลัวความอ้วน เพราะถ้าหากว่าเราไม่กินข้าวเลย นั่นหมายความว่าเราจะพลาดคุณประโยชน์ดีๆ มากมายที่มีอยู่ในเมล็ดข้าว […]

Home/tonamorn's blog/ประโยชน์ของข้าว และ กินข้าวอย่างไรไม่ให้อ้วน

ประโยชน์ของข้าว ดีต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง กินข้าวอย่างไรไม่ให้อ้วน

ข้าว จัดว่าเป็นอาหารหลักที่อยู่คู่กับคนไทยมาเป็นเวลาช้านานแล้ว สารอาหารในข้าวมีประโยชน์หลายอย่าง ดังนั้นอย่าคิดว่าเลิกกินข้าวดีกว่า เพราะว่ากลัวความอ้วน เพราะถ้าหากว่าเราไม่กินข้าวเลย นั่นหมายความว่าเราจะพลาดคุณประโยชน์ดีๆ มากมายที่มีอยู่ในเมล็ดข้าว

มีการศึกษาบ่งชี้ว่า ข้าวอุดมไปด้วยสาร Gamma oryzanol ค่อนข้างสูง ซึ่งเป็นสารที่ช่วยลดระดับไขมันคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด และยังช่วยลดอัตราความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และมีกรดไขมันไลโนเลกิน และโอเมก้า 3 ที่ช่วยบำรุงสมอง มีสารเมลาโทนิน ซึ่งจะช่วยให้เรานอนหลับสบาย นอกจากนี้ยังอุดมไปด้วยวิตามินเอ วิตามินบีรวม เบต้าแคโรทีน ซึ่งมีส่วนช่วยให้การทำงานของระบบประสาททำงานได้ดียิ่งขึ้น ส่วนไตรกลีเซอไรด์ในข้าว ก็ช่วยลดอาการอักเสบ และช่วยสลายลิ่มเลือด

เคล็ดลับการหุงข้าวให้ได้ข้าวที่หอมนุ่มอร่อยนั้น ต้องเริ่มตั้งแต่การเลือกข้าว โดยต้องเป็นข้าวที่มีความสมบูรณ์มากที่สุด การหุงข้าวให้นุ่มอร่อยต้องซาวข้าวก่อนหุง เพื่อให้ข้าวทุกเมล็ดได้สัมผัสกับน้ำ จากนั้นเทน้ำซาวข้าวครั้งแรกทิ้ง ส่วนการเติมน้ำก่อนการหุงข้าว บางคนคิดว่าให้เติมน้ำเลยขึ้นมาจากข้าวในหม้อประมาณ 1 ข้อนิ้วมือ ซึ่งนั่นเป็นวิธีการที่ไม่ถูกต้องเท่าไหร่นัก เพราะการหุงข้าวที่ถูกต้องคือ ต้องเติมน้ำลงไปในสัดส่วนดังนี้ ข้าว 1 ถ้วยต่อน้ำ 1 ส่วน 4 ถ้วย จากนั้นเกลี่ยข้าวให้เสมอกันก่อนหุง คุณก็จะได้ข้าวที่นุ่มและหอมอร่อย เมื่อข้าวสุกแล้วจะเรียงกันเป็นเมล็ดข้าวที่สวยงาม

สำหรับคนที่กลัวอ้วนก็ต้องรับประทานข้าวในปริมาณที่เหมาะสม แต่ไม่ควรงดข้าว

เคล็ดลับทานข้าวอย่างไรไม่ให้อ้วน

เราควรเลือกรับประทานแป้งและน้ำตาลที่มีดัชนีไกลซีมิกต่ำ ซึ่งดัชนีนี้ถือเป็นตัวชี้วัดว่า อาหารจำพวกแป้งและน้ำตาล จะมีผลต่อระดับของกลูโคสในเลือดอย่างไร หากมีค่า glycemic สูงเท่าไหร่ ระดับกลูโคสในเลือดก็จะเพิ่มมากขึ้นเร็วเท่านั้น โดยปกติกลูโคสจากมีค่า glycemic อยู่ที่ 100 ส่วนแป้งและน้ำตาลอื่นๆ มีค่าน้อยลดหลั่นกันลงมา หากอาหารที่มีค่า glycemic ต่ำกว่า 55 ถือว่ามีค่า glycemic ต่ำ ส่วนระดับ 55-70 ถือว่ามีค่านี้อยู่ในระดับปานกลาง และระดับที่สูงกว่า 70 นั้น ถือว่าอยู่ในระดับที่สูง หากเราไม่อยากให้ระดับกลูโคสในเลือดสูงเกินไป ควรเลือกบริโภคแป้งและน้ำตาลที่มีค่า glycemic ต่ำ

แชร์เลย

ให้คะแนนบทเรียนนี้

Average rating 0 / 5. Vote count: 0

เป็นคนแรกที่ให้คะแนนบทเรียนนี้