การใช้ Nouns คำนามคืออะไร มีกี่แบบ กี่ประเภท การเปลี่ยนรูป เอกพจน์ พหูพจน์
เรียนภาษาอังกฤษ เรื่อง Noun การใช้คำนามในภาษาอังกฤษ การแยกคำนามออกเป็นประเภทต่างๆ เบื้องต้น และกฎการเปลี่ยนรูปคำนามเอกพจน์ ให้เป็นคำนามพูพจน์ Nouns หมายถึง […]

เรียนภาษาอังกฤษ เรื่อง Noun การใช้คำนามในภาษาอังกฤษ การแยกคำนามออกเป็นประเภทต่างๆ เบื้องต้น และกฎการเปลี่ยนรูปคำนามเอกพจน์ ให้เป็นคำนามพูพจน์
Nouns หมายถึง คำที่ใช้เรียกชื่อคน สัตว์ และสิ่งของ ซึ่งนับจำนวนได้และนับจำนวนไม่ได้
หน้าที่ของ Nouns ที่สำคัญมีดังนี้
1. เป็นประธานของกิริยา (subject of Verb) จะอยู่หน้ากิริยา
ตัวอย่างประโยคภาษาอังกฤษ
– Horses eat grass.
2. เป็นกรรมของกิริยา (object of Verb) จะอยู่หลังกิริยา ซึ่งเป็นได้ทั้งกรรมตรง(direct object) และกรรมรอง
(indirect object)
ตัวอย่างประโยคภาษาอังกฤษ
– Horses eat grass. (กรรมตรง)
– John gives his friend a pen. (กรรมรอง)
3. เป็นกรรมของบุพบท (object of preposition) จะอยู่หลังคำบุพบท
ตัวอย่างประโยคภาษาอังกฤษ
– Mary talked to her children.
– John borrowed notebook from his friend.
4. ทำให้ประโยคมีความหมายสมบูรณ์ขึ้น โดยถ้าต้องการให้ประธานมีความหมายสมบูรณ์จะต้องอยู่หลัง Verb to be หรือ ถ้าต้องการให้กรรมมีความหมายสมบูรณ์ขึ้นต้องอยู่หลังกรรม
ตัวอย่างประโยคภาษาอังกฤษ
– Mary is a doctor.
– John chose this pen a birthday gift.
5. ประกอบนาม (noun adjunct) ทำหน้าที่เหมือนคำคุณศัพท์อยู่หน้านาม
ตัวอย่างประโยคภาษาอังกฤษ
– We will meet you at this coffee shop.
6. ขยายคำนาม ที่เป็นประธานและเป็นกรรม โดยขยายประธานจะอยู่หลังคำนามที่เป็นประธาน และขยายกรรม
จะอยู่หลังคำนามที่เป็นกรรมของประโยค
ตัวอย่างประโยคภาษาอังกฤษ
– Sombat, a famous actor, plays tennis.
– We visited Chiangmai , the North of Thailand.
Compound Nouns
Compound Nouns หมายถึง คำนามที่เกิดจากการประสมคำตั้งแต่ 2 คำขึ้นไป ได้แก่
1. คำนามประสมที่เกิดจากผสมคำนาม 2 คำ มีลักษณะเป็นคำเดียวเขียนติดกันหรือมี hyphen – คั่น เมื่อเป็นพหูพจน์ให้เปลี่ยนเฉพาะนามตัวหลังตามกฎเท่านั้น
ตัวอย่างเช่น girlfriend เปลี่ยนเป็นพหูพจน์เป็น girlfriends
2. คำนามประสมที่เกิดจากการผสมคำนามกับคำอื่น ๆ เช่น
adjective + noun.
noun + preposition + noun.
จะมีลักษณะเป็นคำเดียวเขียนติดกันหรือมี hyphen – คั่น
เมื่อเป็นพหูพจน์ให้เปลี่ยนเฉพาะคำนามตามกฎเท่านั้น
ตัวอย่างเช่น
adjective + noun : gentleman เป็น gentlemen
noun + preposition + noun. : father-in-law เป็น fathers-in-law
หลักการเปลี่ยนรูปคำนามจากเอกพจน์เป็นพหูพจน์
1. ถ้าเป็นคำนามทั่วไป จะต้องเติม s
2. คำนามที่ลงท้ายด้วย ch , sh , s , ss, x และ z ต้องเติม es
3. คำนามที่ลงท้ายด้วย o หน้า o เป็นพยัญชนะต้องเติม es
4. คำนามที่ลงท้ายด้วย y หน้า y เป็นพยัญชนะ ให้เปลี่ยน y เป็น I แล้วเติม es แต่ถ้าเป็นคำนามที่ลงท้ายด้วย y แต่หน้า y เป็นสระให้เติม s
5. คำนามที่ลงท้ายด้วย f ,fe ให้เปลี่ยนเป็น ves
6. คำนามที่ต้องเปลี่ยนรูปเมื่อเป็นพหูพจน์ ได้แก่
– woman เปลี่ยนเป็น women
– tooth เปลี่ยนเป็น teeth
– mouse เปลี่ยนเป็น mice
– child เปลี่ยนเป็น children
7. คำนามที่เป็นชื่อเฉพาะ เมื่อเป็นพหูพจน์ต้องเติม s
8. ตัวอักษร , ตัวเลขเดี่ยว เมื่อเป็นพหูพจน์ต้องเติม ’s
9. อักษรตัวย่อและปี ค.ศ. เมื่อเป็นพหูพจน์ต้องเติม ’s หรือ s ซึ่งปัจจุบันนิยมใส่ s เท่านั้น
10. คำนามต่อไปนี้มีรูปเหมือนกันทั้งเอกพจน์และพหูพจน์ เช่น
– deer = deer
– swine = swine
– salmon = salmon
– aircraft = aircraft
– species = species
11. คำนามต่อไปนี้ไม่เปลี่ยนรูปเป็นพหูพจน์เมื่อมีจำนวน
นับประกอบข้างหน้า เช่น
dozen stone
gross head
foot hundredweight
hundred thousand
million score
12. คำนามบางคำเมื่อใช้ประกอบนามอีกตัวหนึ่ง แม้จะมีความหมายเป็นพหูพจน์ เช่น a two-foot animal
13. คำนามที่มีรูปเอกพจน์ แต่มีความหมายเป็นพหูพจน์ เช่น
people(ประชาชน) police(ตำรวจ)
minority(คนส่วนน้อย) gentry(พวกผู้ดี)
14. คำนามที่มีรูปพหูพจน์ แต่มีความหมายเป็นเอกพจน์ เช่น
news(ข่าว)
works(ผลงาน)
15. คำนามที่มีรูปพหูพจน์ และมีความหมายเป็นพหูพจน์ เช่น
clothes(เสื้อผ้า)
goods (สินค้า)
16. คำนามบอกสัญชาติที่ลงท้ายด้วย ss , se นามเอกพจน์ และนามพหูพจน์จะใช้รูปแบบเดียวกัน เช่น
นามเอกพจน์ ใช้ a Swiss
นามพหูพจน์ ใช้ six Swiss