สรุปการใช้ Relative Pronouns

Relative Pronouns คือ คําสรรพนามที่ใช้แทนนามที่อยู่ข้างหน้า และยังสามารถทำหน้าที่เชื่อมประโยคหน้าและหลังเข้าไว้ด้วยกันให้เป็นประโยคเดียว วิธีการใช้ Relative Pronoun เมื่อมีหน้าที่เป็นประธานในประโยค ใช้แทนคำนามที่เป็นคน […]

Relative Pronouns
คือ คําสรรพนามที่ใช้แทนนามที่อยู่ข้างหน้า และยังสามารถทำหน้าที่เชื่อมประโยคหน้าและหลังเข้าไว้ด้วยกันให้เป็นประโยคเดียว

วิธีการใช้ Relative Pronoun
เมื่อมีหน้าที่เป็นประธานในประโยค
ใช้แทนคำนามที่เป็นคน ได้แก่ who, that
ใช้แทนคำนามที่เป็นสิ่งของหรือความคิด ได้แก่ which, that

เมื่อมีหน้าที่เป็นกรรมในประโยค
ใช้แทนคำนามที่เป็นคน ได้แก่ who, whom, that
ใช้แทนคำนามที่เป็นสิ่งของหรือความคิด ได้แก่ which, that
ใช้แทนคำนามที่เป็นสถานที่ ได้แก่ where
ใช้แทนคำนามที่เป็นเวลา ได้แก่ when
ใช้แทนคำนามที่เป็นเหตุผล ได้แก่ why
หลักการใช้คือ ต้องวาง Relative Pronoun ตัวที่เราจะใช้ติดกับคำนามตัวที่จะไปขยายและเมื่อเอา Relative
Pronoun มาแล้วต้องเอาส่วนที่เหลือในประโยคขยายมาไว้ต่อกันด้วย

ตัวอย่างประโยคภาษาอังกฤษ

The boy stole the bike. The boy is at the door.
หากต้องการเชื่อม 2 ประโยคนี้เข้าด้วยกันเพื่อให้เป็นประโยคเดียว Relative pronoun ที่จะนำมาใช้เชื่อม 2 ประโยคนี้เข้าด้วยกัน คือ who เพราะ the boy เป็นคน จะได้ดังนี้
The boy who stole the bike. The boy is at the door.
และ who ในประโยค Relative Pronoun มีหน้าที่ 3 อย่างประกันในประโยคนี้

1.เป็นคำนามแทน the boy ที่อยู่ข้างหน้า
2.เป็นประธานของกริยา stole ในประโยค “stole the bike”
3.เป็นคำเชื่อมระหว่างประโยค The boy is at the door. กับประโยค the boy stole the bike.

อย่างไรก็ตาม ถ้าในคำนามตัวที่จะไปขยายมีคำว่า the only, the only one, the best, the greatest หรือคำที่แสดงการเปรียบเทียบขั้นสุดอยู่ ให้ใช้ that เสมอ

ตัวอย่างประโยคภาษาอังกฤษ
He is the only friend that I have now.
ประโยคขยายที่มี Relative Pronoun นำหน้านี้เรียกว่า Relative Clause หรือ เรียกว่า Adjective Clause ก็ได้

Relative Clause หรือ Adjective Clause แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1.ประโยคขยายที่ชี้เฉพาะว่าคำนามที่ถูกขยายนั้นเป็นคนไหนหรือสิ่งไหน เป็นการพูดให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง (relevant information) เพื่อให้คำนามตัวนั้นชัดเจนขึ้น เรียกว่า Defining Relative Clause ประโยคพวกนี้มักจะไม่ใช่ comma (,) คั่นขยายความนั้น และ Relative Pronoun ที่เป็นกรรมจะละได้

ตัวอย่างประโยคภาษาอังกฤษ
People who live in glass houses should not throw stones.
ประโยค who live in glass houses ไปขยายคำนาม People เพื่ออธิบายหรือเสริมความให้ชัดเจนว่าเป็นคนที่ไหน และ who ที่นำมาใช้เชื่อมประโยค ไม่สามารถละได้ เพราะทำหน้าที่เป็นประธานของ live ในส่วนของ Relative Clause
2.ประโยคขยายที่ไม่ได้ชี้เฉพาะคำนามข้างหน้า เพราะคำนามข้างหน้าชัดเจนอยู่แล้วว่าเป็นคนไหน สิ่งไหน เป็นเพียงการเสริมข้อมูล (extra information) ลงไปเท่านั้น จะเพิ่มก็ได้ ไม่เพิ่มก็ได้ เราจะเรียกประโยคประเภทนี้ว่า Non-defining Relative Clause นี้ ห้ามใช้ that หรือละ Relative Pronoun ที่เป็นกรรมโดยเด็ดขาด

ตัวอย่างประโยคภาษาอังกฤษ
Mount Etna, which is located in Italy, was once an active volcano.
ประโยค which is located in Italy ไปขยายคำนามเฉพาะคือ Mount Etna ซึ่งเป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่าอยู่ในอิตาลี ดังนั้นประโยคนี้จะใส่หรือไม่ใส่ก็ได้ ไม่ทำให้ความหมายของประโยคผิดไป ดังนั้นประโยค which is located in Italy จึงถือเป็น Non-defining Relative Clause
เปรียบเทียบให้เห็นชัดๆถึงความแตกต่างระหว่างประโยค 2 ชนิดนี้
Jack fell in love with someone who lives in Thailand.
(who lives in Thailand – defining relative clause ขยาย someone จำเป็นต้องใส่ลงไปเพื่อให้ชัดเจน ดังนั้นไม่ต้องใส่ comma)
Jack fell in love with Somjai, who lives in Thailand.
(who lives in Thailand – non-defining relative clause ขยาย Somjai ซึ่งไม่จำเป็นต้องใส่ลงไปก็ได้ ดังนั้นจึงต้องมี comma)

ประโยค who lives in Thailand ในประโยคแรก เป็นแบบ Defining Relative Clause เพราะไปขยาย someone ให้ชัดเจนว่าเป็นใคร อาศัยอยู่ที่ไหน
ส่วนประโยค who lives in Thailand ในประโยคที่สอง เป็นแบบ Non-Defining Relative Clause เพราะ Somjai สื่อชัดเจนอยู่แล้วว่าเป็นใคร

ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ
tense
คำคมภาษาอังกฤษ

แชร์ไว้อ่าน