การเขียนภาษาอังกฤษ เพื่อโน้มน้าวใจ

การเขียนภาษาอังกฤษ ที่มีเนื้อหาโน้มน้าวใจ (persuasion) ในบทเรียนภาษาอังกฤษนี้ เราจะมาลองฝึกเขียนประโยคภาษาอังกฤษที่มีเนื้อหาโน้มน้าวใจผู้อ่านกันดูนะครับ โดยจะมีโครงสร้างประโยคที่หลากหลาย แต่เราจะมาเน้นการเรียนให้เกิดแนวคิดวิธีการในภาพรวม เพื่อที่ผู้เรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับงานเขียนภาษาอังกฤษหลายๆ ประเภทครับ 1. […]

การเขียนภาษาอังกฤษ เพื่อโน้มน้าว

การเขียนภาษาอังกฤษ ที่มีเนื้อหาโน้มน้าวใจ (persuasion)

ในบทเรียนภาษาอังกฤษนี้ เราจะมาลองฝึกเขียนประโยคภาษาอังกฤษที่มีเนื้อหาโน้มน้าวใจผู้อ่านกันดูนะครับ โดยจะมีโครงสร้างประโยคที่หลากหลาย แต่เราจะมาเน้นการเรียนให้เกิดแนวคิดวิธีการในภาพรวม เพื่อที่ผู้เรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับงานเขียนภาษาอังกฤษหลายๆ ประเภทครับ

1. การใช้คำศัพท์ภาษาอังกฤษอันทรงพลัง

ถ้าลองสังเกตดีๆ กลุ่มคำศัพท์บางกลุ่ม ถึงแม้ว่าจะมีความหมายคล้ายคลึงกัน แต่ระดับความเข้มข้นของคำไม่เท่ากัน เช่นคำว่า good แปลว่าดี แต่คำว่า excellent จะแปลว่าดีเยี่ยมแบบสุดยอดไปเลย ในที่นี้เราจะสังเกตได้ว่าคำว่า excellent เป็นคำศัพท์ภาษาอังกฤษที่ให้ความหมายยิ่งใหญ่กว่าคำว่า good ครับ หรืออย่างคำว่าฉลาด ในภาษาอังกฤษ สามารถพูดได้ว่า clever แต่ถ้าอยากจะพูดว่า ฉลาด แบบฉลาดมากๆ ฉลาดปราดเปรื่อง เราก็จะใช้คำว่า brilliant โดยส่วนนี้ความสำคัญจะอยู่ตรงที่ว่า ผู้เรียนมีคลังคำศัพท์อยู่มากแค่ไหน แต่ถ้าหากว่ายังมีคําศัพท์ภาษาอังกฤษอยู่น้อย ก็อย่าพึ่งท้อแท้นะครับ เราสามารถที่จะใช้ดิกชันนารีมาเป็นที่ปรึกษาของเราได้ หรือคลิกดู >> คำศัพท์ภาษาอังกฤษ (1,000 คำจำเป็น)

ตัวอย่างเช่น เมื่อคุณต้องการให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ของบริษัท แทนที่คุณจะพูดแบบตรงๆ ว่า

Our company would like to persuade you to buy our new washing machine. It has a powerful motor and a beautiful style. It is also durable.

แปลว่า ทางบริษัทต้องการโน้มน้าวให้ท่านซื้อเครื่องซักผ้ารุ่นใหม่ของเรา มันมีมอเตอร์อันทรงพลังและรูปลักษณ์ที่สวยงาม รวมทั้งมีความทนทานอีกด้วย

แต่เราอาจใช้วิธีบรรยายข้อดีของสินค้าไปเลย โดยเลือกคำศัพท์ที่ดูทรงพลังมากกว่า มาช่วยทำให้ลูกค้ารู้สึกคล้อยตามและอยากซื้อสินค้าของเรามากขึ้น เช่น

Our latest washing machine has a high-powered motor and a breathtaking style. It is also as solid as a rock.

ซึ่งนอกจากตัวอย่างด้านบนแล้ว การใช้คําศัพท์ภาษาอังกฤษที่มีความหมายอันทรงพลังมากกว่าทางด้านบวก ผู้เรียนก็ยังสามารถที่จะใช้คําศัพท์ภาษาอังกฤษที่มีความหมายทรงพลังมากกว่าในด้านลบได้ด้วยเช่นเดียวกัน เรามาลองดูตัวอย่างประโยคภาษาอังกฤษกันครับ

The violent treatment of child labor is bad. We must quickly find a solution or our society will surely face unpleasant consequences.

แปลว่า การปฏิบัติต่อแรงงานเด็กอย่างรุนแรงเป็นเรื่องที่เลวร้าย เราต้องหาทางออกอย่างเร่งด่วน มิฉะนั้น สังคมของเราจะเผชิญกับผลลัพธ์อันไม่พึงประสงค์อย่างแน่นอน

เรามาลองเปลี่ยนคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ให้เป็นคำศัพท์ที่ทรงพลังและกระตุ้นให้ผู้อ่านรู้สึกถึงปัญหาอย่างรุนแรงมากยิ่งขึ้นครับ

ตัวอย่างประโยคภาษาอังกฤษ

The barbarous treatment of child labor is awful. We must immediately find a solution or our society will certainly face catastrophic consequences.

ซึ่งจากตัวอย่างในการเลือกใช้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ ให้ผู้อ่านหรือผู้ฟังมีความรู้สึกร่วม หรือรู้สึกรุนแรงมากขึ้นนั้น ผู้เรียนสามารถที่จะใช้ดิกชันนารี่เป็นตัวช่วย ในการค้นหา เปรียบเทียบ และเลือกใช้คำที่ต้องการ โดยการสังเกตง่ายๆ คือ ถ้าเป็นคำศัพท์ที่ให้ความหมายเข้มข้นกว่า หรือหนักแน่นกว่า มักจะมีคำว่า very หรือ extremely ทำนองนี้ อยู่ด้วยครับ

2. การใช้คำถามเชิงวาทศิลป์
Rhetorical question

สำหรับการเขียนภาษาอังกฤษนั้น คำถามประเภทนี้เป็นคำถามที่ไม่ได้ต้องการคำตอบอย่างจริงจัง แต่เป็นการถามเพื่อกระตุ้นอารมณ์ความรู้สึกของผู้อ่าน หรือเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้อ่าน ซึ่งหลักการเบื้องต้นของการสร้างคำถามประเภทนี้ก็คือ ผู้เขียนนั้นมีคำตอบหรือจุดยืนในใจอยู่แล้ว แต่แทนที่จะสื่อออกมาเป็นประโยคบอกเล่าหรือประโยคปฏิเสธ แต่กลับเขียนออกมาเป็นประโยคคำถามเพื่อให้ผู้อ่านลองย้อนถามตัวเองดู เช่น

2.1 ถ้าผู้เรียนต้องการที่จะสื่อว่า การสูบบุหรี่ทำให้สุขภาพเสื่อมโทรม เพราะก่อให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บนานัปการ แทนที่ผู้เขียนจะเขียนออกมาเป็นประโยคบอกเล่าว่า Smoking ruins your health. แปลว่า การสูบบุหรี่ทำลายสุขภาพ ก็ลองเปลี่ยนเป็นคำถามเชิงวาทศิลป์ดูครับ เช่น

Don’t you think smoking ruins your health?
แปลว่า คุณไม่คิดหรือว่าการสูบบุหรี่นั้นมันทำลายสุขภาพของคุณ

ซึ่งในคำถามนี้ เราเองไม่ได้อยากจะได้คำตอบ เพราะก็ย่อมรู้กันดีอยู่แล้วว่า การสูบบุหรี่จะต้องทำลายสุขภาพแน่นอน แต่เป็นการสร้างคำถามเพื่อเริ่มการโน้มน้าวใจผู้อ่าน ก่อนที่จะบรรยายถึงข้อเสียของการสูบบุหรี่ในรายละเอียดต่อไป

2.2 ถ้าเราต้องการจะสื่อว่า การสร้างโรงงานไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์นั้นอันตรายมาก เช่น อาจเพราะมีความเสี่ยงจากปัจจัยต่างๆ แทนที่เราจะเขียนออกมาเป็นประโยคบอกเล่าว่า Building a nuclear power plant is dangerous. แปลว่า การสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์นั้นอันตราย เราก็ลองเปลี่ยนเป็นประโยคคำถามเชิงวาทศิลป์ เช่น

Do you really believe that a nuclear power plant is perfectly safe?
แปลว่า คุณเชื่อจริงๆ หรือว่า โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ ปลอดภัยอย่างแน่นอน

ซึ่งในประโยคคำถามข้างต้น เป็นการโน้มน้าวใจผู้อ่านให้ฉุกคิดถึงประเด็นนี้

โดยในการใช้คำถามเชิงวาทศิลป์นี้ โดยปกติผู้เขียนภาษาอังกฤษสามารถวางไว้ตั้งแต่ต้นเรื่อง เหมือนกับเป็นการเปิดประเด็น จากนั้นก็ตามด้วยประโยคภาษาอังกฤษตามปกติ ให้รายละเอียดในส่วนต่างๆ ตามมา ทั้งนี้ เราจะใช้คำถามเชิงวาทศิลป์ไว้ในตอนสุดท้ายของงานเขียนภาษาอังกฤษก็ได้ เพื่อทิ้งท้ายให้ผู้อ่านเก็บประเด็นที่เราเขียนทั้งหมดไว้ตั้งแต่ต้นไปขบคิดถึงความสำคัญของมันต่อ

ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ
tense
คำคมภาษาอังกฤษ

แชร์ไว้อ่าน