Verb คืออะไร สรุปกริยาภาษาอังกฤษ Grammar พื้นฐานที่ต้องรู้

Verb in English

สรุป Verb คำกริยา

Verb คืออะไร

Verb หรือ คำกริยา คือ คำที่แสดงการกระทำหรือสถานะของประธานในประโยค เช่น กิน เดิน รู้สึก เป็น อยู่ คือ ฯลฯ เป็นหนึ่งใน Part of speech (หน้าที่ของคำภาษาอังกฤษ) ที่ต้องรู้จัก

Verb มีอะไรบ้าง

คำกริยาภาษาอังกฤษ (verb) สามารถแบ่งประเภทได้จากประเภทของคำกริยานั้น ๆ เอง หรือแบ่งประเภทจากหน้าที่ของคำกริยาแต่ละคำ โดยในส่วนแรกอาจารย์ต้นอมรจะพาไปทำความรู้จักกับประเภทของ Verb หรือคำกริยาภาษาอังกฤษกันก่อนครับ ว่า verb มีอะไรบ้าง มีกี่ประเภท โดยพื้นฐานภาษาอังกฤษที่ควรรู้คือ verb จะมี 2 ประเภทหลัก ดังนี้

1. Finite Verb

Finite Verb คืออะไร Finite Verb คือกริยาแท้ ซึ่งถือเป็นคำกริยาที่สำคัญของประโยคภาษาอังกฤษ (กริยาแท้หรือกริยาหลัก Main Verb) เป็นกริยาที่แสดงถึงกาลเวลา (Tense) หรือกริยาที่ถูกกำหนดโดยส่วนประธาน (Subject-Verb Agreement) ซึ่งอาจจะเป็นพจน์ (Number) ของนาม (Noun) คือเอกพจน์หรือพหูพจน์, สรรพนามบุรุษที่ 1, 2 หรือ 3 (Person) หรือประธานอื่น ๆ โดย Finite Verb แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ Action Verb, Linking Verb และ Auxiliary Verb

1.1 Action Verb

Action Verb คือ คำกริยาที่แสดงอาการ การกระทำ มีการขยับเขยื้อนเคลื่อนไหว (Movement) เช่น sit (นั่ง), stand (ยืน), walk (เดิน), dance (เต้น), read (อ่าน), jump (กระโดด), run (วิ่ง), kick (เตะ), write (เขียน), sing (ร้องเพลง), cut (ตัด), carry (ถือหรือพก), skip (กระโดดข้าม), cry (ร้องไห้), think (คิด), swim (ว่ายน้ำ), dive (ดำน้ำ), eat (กิน) เป็นต้น ตัวอย่างประโยค เช่น

  • He kicks the ball. (kicks เป็น Action Verb ทำหน้าที่เป็น Main Verb ของประโยคภาษาอังกฤษ)

1.2 Linking Verb

Linking Verb คือ คำกริยาที่ใช้เชื่อมประธาน (Subject) กับคำอื่นเพื่อขยายประธานของประโยคให้ได้ใจความสมบูรณ์ โดย Linking Verb ที่มักเจอบ่อย ได้แก่ Verb to be (be, is, am, are, was, were, being, been) นอกจากนี้ยังรวมถึงคำกริยาบางตัว เช่น feel (รู้สึก), smell (ได้กลิ่น), taste (รู้รสชาติ), sound (ได้ยิน, ฟังดู), become (กลายเป็น) เป็นต้น ทั้งนี้คำที่อยู่หลัง Linking Verb จะถูกเรียกว่า Subjective Complement คือ “ส่วนขยายประธาน” ซึ่งสามารถเป็นได้ทั้ง Adjective หรือ Noun มีหน้าที่เสริมความให้ประธานชัดเจนยิ่งขึ้น ตัวอย่างประโยคภาษาอังกฤษที่มี Linking verb เช่น

  • She is a teacher. (เธอเป็นครู)
  • The flowers smell wonderful. (ดอกไม้มีกลิ่นหอมมาก)
  • The cake tastes delicious. (เค้กมีรสชาติอร่อย)
  • The music sounds soothing. (เพลงฟังดูผ่อนคลาย)
  • The weather became colder. (อากาศเริ่มเย็นลง)

1.3 Auxiliary Verb

Auxiliary Verb คือ “กริยาช่วย” กลุ่ม be (am, are, is, was, were, being, been), do (does, did) และ have (has, had, having) ซึ่งจะตามด้วยกริยาแท้ (Main Verb) เพื่อสร้างประโยคคำถาม (Question) ประโยคปฏิเสธ (Negative Sentence) กาล (Tense) หรือประโยคที่ประธานถูกกระทำ (Passive Voice) สามารถเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Helping Verb ตัวอย่างเช่น

  • Do you like spicy food? (คุณชอบอาหารรสเผ็ดไหม?)
  • He has not finished his homework. (เขายังทำการบ้านไม่เสร็จ)

การผัน Verb ภาษาอังกฤษ

Finite verb คือ คำกริยาแท้ในภาษาอังกฤษ จะทำหน้าที่แสดงอาการหรือการกระทำของประธานในประโยคภาษาอังกฤษ โดยประโยคภาษาอังกฤษที่สมบูรณ์จะต้องมีกริยาแท้ที่เป็นกริยาหลักอย่างน้อย 1 ตัว และกริยานั้นจะถูกผันตามประธาน (Subject), ทัศนคติ (Mood) และกาล (Tense) ของประโยค

Verb ผันตามประธาน

เมื่อประธาน (Subject) เป็นเอกพจน์บุรุษที่ 3 คำกริยา (Verb) จะเติม -s / -es เช่น

  • He walks (กริยาเติม s)
  • He goes (กริยาเติม es)

Verb ผันตาม tense

Finite verb จะมีการผันรูปตาม Tense ทั้ง 12 Tenses ดังตัวอย่างต่อไปนี้

การผันกริยา Present Tense

  • Present Simple = S. + V.
    • She puts on make-up every day. (put = puts)
  • Present Continuous = S. + am/is/are + V.-ing
    • She is putting on make-up right now. (put = putting)
  • Present Perfect = S. + has/have + V.-ed/-en
    • She has put on make-up before leaving. (put = put)
  • Present Perfect Continuous = S. + has/have + been + V.-ing
    • She has been putting on make-up for an hour. (put = putting)

การผันกริยา Past Tense

  • Past Simple = S. + V.-ed/-en
    • She put on make-up yesterday. (put = put)
  • Past Continuous = S. + was/were + V.-ing
    • She was putting on make-up when the phone rang. (put = putting)
  • Past Perfect = S. + had + V.-ed/-en
    • She had put on make-up before the guests arrived. (put = put)
  • Past Perfect Continuous = S. + had + been + V.-ing
    • She had been putting on make-up for hours before the event. (put = putting)

การผันกริยา Future Tense

  • Future Simple = S. + will/shall + V.
    • She will put on make-up before going out. (put = put)
  • Future Continuous = S. + will/shall + be + V.-ing
    • She will be putting on make-up when you arrive. (put = putting)
  • Future Perfect = S. + will/shall + have + V.-ed/-en
    • She will have put on make-up by the time we leave. (put = put)
  • Future Perfect Continuous = S. + will/shall + have + been + V.-ing
    • She will have been putting on make-up for hours by the time the party starts. (put = putting)

Verb ผันตาม mood

ในไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ finite verbs จะผันตาม mood เพื่อถ่ายทอดทัศนคติของผู้พูดต่อการกระทำหรือสถานะที่แสดงออกโดยกริยา Mood หลักในภาษาอังกฤษมีสามประเภท คือ indicative, imperative, และ subjunctive โดยมีวิธีการผันคำกริยาแบบ finite verbs ตาม mood ดังนี้

  • Indicative Mood

Indicative mood ใช้ในการระบุข้อเท็จจริงหรือถามคำถามเกี่ยวกับข้อเท็จจริง เป็น mood ที่พบบ่อยที่สุดในภาษาอังกฤษ

Finite verbs ใน indicative mood จะผันตาม tense (present, past, future) และบุรุษ (first, second, third) tเพื่อระบุเวลาของการกระทำหรือสถานะ ตัวอย่างเช่น

She is reading a book. (present tense, indicative mood)

  • Imperative Mood

Imperative mood ใช้เพื่อออกคำสั่งหรือร้องขอ Finite verbs ใน imperative mood มักจะอยู่ในรูป base form (infinitive) และไม่เปลี่ยนแปลงไปตามประธาน เพราะประธานมักหมายถึง You แต่ละไว้เนื่องจากเข้าใจกัน ตัวอย่างเช่น

Please close the door. (imperative mood)

  • Subjunctive Mood

ใช้เพื่อแสดงความปรารถนา คำแนะนำ หรือสถานการณ์สมมติที่ขัดแย้งกับข้อเท็จจริง Finite verbs ใน subjunctive mood มักปรากฏในโครงสร้างเฉพาะและไม่เปลี่ยนแปลงตามหัวเรื่องหรือกาล ตัวอย่างเช่น

ความปรารถนา: “I wish he were here.”
คำแนะนำ: “I suggest that she go to the doctor.”
คำขอ: “I ask that you bring your passport.”
คำสั่ง: “It is imperative that he be notified immediately.”
ความต้องการ: “They demanded that the project be completed by Friday.”
ยืนกราน: “She insists that he apologize for his behavior.”

2. Non-finite Verb

กริยาไม่แท้ หมายถึงกริยาที่ไม่มีการผันตาม Tense หรือไม่ต้องใช้ตามประะธาน (เอกพจน์หรือพหูพจน์) มีเพียงรูปเดียวไม่ว่าจะอยู่ส่วนไหนของประโยคภาษาอังกฤษ กริยากลุ่มนี้ได้แก่ Gerund, Infinitive และ Participle และกริยากลุ่มนี้จะไม่ถูกนำมาใช้เป็นกริยาแท้ของประโยคภาษาอังกฤษเหมือนการใช้ Finite Verb แต่จะถูกนำมาใช้ทำหน้าที่อื่น ๆ โดยเป็นคำนามบ้าง เป็นคำคุณศัพท์บาง เช่น

* To Infinitive ตัวอย่างเช่น
He needs to finish his homework before dinner. (เขาต้องทำการบ้านให้เสร็จก่อนอาหารเย็น)

* Gerund ตัวอย่างเช่น
Swimming is my favorite hobby. (การว่ายน้ำเป็นงานอดิเรกที่ฉันชอบ)

* Participle ตัวอย่างเช่น
The broken vase lay shattered on the floor. (แจกันที่แตก กระจายอยู่บนพื้น)

หน้าที่ของ Verb (คำกริยา) ภาษาอังกฤษ

เราสามารถแบ่งคำกริยาออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ จากหน้าที่ของคำกริยาออก คือ Main Verb (คำกริยาหลัก) และ Helping Verb (คำกริยาช่วย) ดังนี้

1. Main Verb

Main Verb คือ คำกริยาหลัก หรือคำกริยาแท้ของประโยค ซึ่งจะผันไปตามประธาน (Subject) และกาล (Tense) สามารถแบ่งออกเป็น 6 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

1.) Transitive Verb – Intransitive Verb

Transitive Verb คือ คำกริยาที่ต้องการกรรม (Object) หากขาดกรรมไปจะทำให้ประโยคไม่สมบูรณ์ และจะสื่อความหมายไม่ได้ ตัวอย่างคำกริยาที่ต้องการกรรม เช่น buy (ซื้อ), like (ชอบ), love (รัก), borrow (ยืม), wear (สวม/ใส่), erase (ลบ) เป็นต้น

Intransitive Verb คือ คำกริยาที่แม้ไม่มีกรรมก็สื่อความหมายได้ เช่น walk (เดิน), sleep (นอน), snore (กรน), laugh (ขำ), smile (ยิ้ม), cry (ร้องไห้) เป็นต้น

NOTE ! คำกริยาบางคำสามารถเป็นได้ทั้ง Transitive Verb และ Intransitive Verb เช่น

eat (กิน), climb (ปีน), study (เรียน), paint (ลงสี), read (อ่าน), drive (ขับรถ), write (เขียน), cook (ทำอาหาร), teach (สอน), clean (ทำความสะอาด)

2.) Regular Verb – Irregular Verb

Regular Verb คือ คำกริยาปกติ เมื่อผันเป็นกริยาช่อง 2 หรือ 3 จะเติม -ed ลงท้าย เช่น

walk / walked / walked

  • คำอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับคำกริยาช่องที่ 1, 2, 3
    • กริยาช่อง 1 (V.1) ใช้บอกเล่าเหตุการณ์ในปัจจุบันทั่วไป ประธานเอกพจน์ หรือพหูพจน์
    • กริยาช่อง 2 (V.2) ใช้บอกเล่าเหตุการณ์ในอดีต
    • กริยาซ่อง 3 (V.3) ใช้บอกเล่าเหตุการณ์ที่ดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง เพิ่งสิ้นสุดลง หรือเหตุการณ์ที่ประธานเป็นผู้ถูกกระทำ มักใช้ใน Perfect Tense หรือ Passive Voice

Irregular Verb คือ คำกริยาไม่ปกติ เมื่อผันเป็นกริยาช่อง 2 หรือ 3 จะเปลี่ยนรูปไปเลย หรือยังคงรูปเดิม เช่น

3.) Linking Verb คือ คำกริยาเชื่อม ทำหน้าที่เชื่อมประธานของประโยคกับคำคุณศัพท์ (Adjective) หรือคำนาม (Noun) เพื่อบ่งบอกว่าประธานมีลักษณะหรือสภาวะ (State) เป็นอย่างไร ไม่ได้บอกถึงการกระทำ (Action)

ตัวอย่าง Linking Verb ที่พบบ่อย ได้แก่

V. to be (เป็น, อยู่, คือ), appear (ดูเหมือน), taste (มีรสชาติ), turn (กลายเป็น), look (ดูเหมือน), sound (ฟังดู), feel (รู้สึก), stay (ยังคง), seem (ดูเหมือน), smell (มีกลิ่น), become (กลายเป็น), remain (ยังคง)

4.) Verb to be คือ คำกริยาที่บอกสถานะของประธานว่าประธานนั้น ๆ เป็นอะไร หรือรู้สึกอย่างไร มักมีความหมายว่า “เป็น อยู่ คือ” หรือบางครั้งอาจไม่ต้องแปลก็ได้ ซึ่ง Verb to be ที่เป็น main verb (คำกริยาหลัก) มีทั้งหมด 7 คำ คือ is, am, are, was, were, been, being

Verb to be ใช้อย่างไร

  • ใช้นำหน้าคำนาม (Noun) เพื่อบอกว่าประธานคือใคร หรืออะไร เช่น
    • I am a teacher. (ฉันเป็นนักเรียน)
    • He was a student. (เขาเคยเป็นเด็กนักเรียน)
  • ใช้นำหน้าคำคุณศัพท์ (Adjective) ทั้งคำคุณศัพท์ปกติ หรือชนิดที่ลงท้ายด้วย -ing แปลว่า “น่า …” และชนิดที่ลงท้ายด้วย -ed แสดงอารมณ์ที่แปลว่า “รู้สึก …” เพื่ออธิบายว่าประธานมีลักษณะอย่างไร เช่น
    • It is interesting (มันน่าสนใจ)
  • ใช้ในประโยค Perfect Tense โดย V. to be ที่เป็นกริยาแท้จะอยู่ในรูปกริยาช่องที่ 3 (been) และอยู่หลังคำกริยาช่วย (Auxiliary Verb) เช่น
    • He has been there. (เขาเคยไปที่นั่นมา)

5.) Verb to do คือ คำกริยาที่แปลว่า “ทำ” เช่น do homework แปลว่า ทำการบ้าน ฯลฯ โดยสามารถผันตามประธาน (Subject) และกาล (Tense) ได้ ซึ่ง Verb to do ที่ทำหน้าที่เป็นคำกริยาหลักมี 4 คำ คือ do, does, did, done

Verb to do ใช้อย่างไร

  • ใช้ในความหมายว่า “ทำ” ทั่ว ๆ ไป โดยมักตามด้วยคำนาม (Noun) เช่น
    • I do my homework every evening.
  • ใช้ในประโยค Perfect Tense โดย V. to do ที่เป็นคำกริยาแท้จะอยู่ในรูปของคำกริยาช่องที่ 3 คือ done และอยู่หลังคำกริยาช่วย (Auxiliary Verb) เช่น
    • He has done his homework. เขา(เพิ่ง)ทำการบ้านเสร็จแล้ว

6.) Verb to have คือ คำกริยาที่แปลว่า “มี” เช่น I have a car. ฉันมีรถยนต์ หรือแปลว่ากิน เช่น I have lunch at noon. ฉันกินข้าวกลางวันตอนเที่ยง ฯลฯ โดยสามารถผันตามประธาน (Subject) และกาล (Tense) ได้เช่นเดียวกับคำกริยาอื่น ๆ โดย Verb to have ที่ทำหน้าที่เป็นคำกริยาหลักมีทั้งหมด 3 คำ คือ have, has, had

Verb to have ใช้อย่างไร

  • ใช้ในความหมายว่า “มี” มักตามด้วยคำนาม (Noun) เช่น
    • He has a new car. เขามีรถยนต์คันใหม่

NOTE ! ภาษาอังกฤษแบบ British English มีการใช้คำว่า have got หรือ has got (สำหรับประธานบุรุษที่ 3 เอกพจน์) เพื่อสื่อความหมายว่า “มี”

  • ใช้ในความหมายว่า “กิน” เช่น
    • He had lunch with me. เขาได้กินข้าวกลางวันกับฉัน

2. Helping Verb

Helping Verb หรืออาจเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Auxiliary Verb (Aux) คือ คำกริยาช่วย มักจะวางอยู่หน้า Main Verb (คำกริยาหลัก) ไม่สามารถใช้เดี่ยว ๆ ได้ และมีหน้าที่ทำให้ประโยคสมบูรณ์ตามโครงสร้าง Grammar โดยคำกริยาช่วยแบ่งออกเป็น 4 ประเภทย่อย ดังนี้

1.) Verb to be นอกจากเป็น Main Verb (คำกริยาหลัก) แล้ว ยังสามารถเป็น Helping Verb (คำกริยาช่วย) ได้ด้วย แต่ถ้าใช้ verb to be เป็นคำกริยาช่วย verb to be จะไม่มีความหมายในตนเอง หรือไม่ต้องทำการแปลนั่นเอง โดยมีทั้งหมด 7 คำ คือ is, am, are, was, were, being, been

การใช้ verb to be เป็นกริยาช่วย

  • ใช้ใน Continuous Tense โดยวาง verb to be ไว้หน้า V.ing เพื่อบอกว่าประธานของประโยคกำลังทำอะไรอยู่ เช่น
    • He is sleeping. เขากำลังนอนหลับ
  • ใช้ในโครงสร้าง Passive Voice โดยวาง verb to be ไว้หน้าคำกริยาช่องที่ 3 (V.3) เพื่อบอกว่าประธานของประโยคถูกกระทำ เช่น
    • The ball was hit. ลูกบอลนั้นถูกตี
    • The food is being cooked. อาหารกำลังถูกทำ

2.) Verb to do นอกจากเป็น Main Verb (คำกริยาหลัก) แล้ว ยังสามารถเป็น Helping Verb (คำกริยาช่วย) ได้ด้วย แต่ถ้าใช้ verb to do เป็นคำกริยาช่วย verb to do จะไม่มีความหมายในตนเอง หรือไม่ต้องทำการแปลนั่นเอง มีทั้งหมด 3 คำ คือ do, does, did

การใช้ verb to do เป็นกริยาช่วย

  • ใช้ในการช่วยสร้างประโยคปฏิเสธ เช่น
    • I don’t like cats. ฉันไม่ชอบแมว
  • ใช้ในการช่วยสร้างประโยคคำถาม เช่น
    • Do you like cats? คุณชอบแมวไหม
  • สามารถใช้ verb to do เพื่อเป็นการเน้นยำคำกริยาหลัก โดยสื่อความหมายว่าเป็นแบบนั้นจริง ๆ เช่น
    • I do believe you. ฉันเชื่อคุณจริง ๆ

3.) Verb to have นอกจากเป็น Main Verb (คำกริยาหลัก) แล้ว ยังสามารถเป็น Helping Verb (คำกริยาช่วย) ได้ด้วย แต่ถ้าใช้ verb to have เป็นคำกริยาช่วย verb to have จะไม่มีความหมายในตนเอง หรือไม่ต้องทำการแปลนั่นเอง มีทั้งหมด 3 คำ คือ have, has, had

การใช้ verb to do เป็นกริยาช่วย

  • ใช้ใน Perfect Tense โดยวางไว้หน้าคำกริยาช่องที่ 3 (V.3) เพื่อพูดถึงเหตุการณ์ที่เพิ่งสิ้นสุดลง หรือเหตุการณ์ที่ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เช่น
    • He has worked with me for ten years. เขาทำงานกับฉันมา 10 ปีแล้ว

4.) Modal Verb

Modal Verb คือ คำกริยาช่วยประเภทหนึ่งที่มีความหมายในตัวเอง มักใช้ขยายคำกริยาหลัก (Main Verb) เพื่อให้มีความหมายชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น ช่วยบอกความจำเป็น ความสามารถ ความเป็นไปได้ ฯลฯ

โครงสร้างการใช้ Modal Verb ในประโยคภาษาอังกฤษ

Subject + Modal Verb + V.1

Modal Verb มีอะไรบ้าง? Modal Verb มีทั้งหมด 9 คำ คือ

Can (สามารถ) – ใช้เพื่อบอกความสามารถ ความเป็นไปได้ หรือใช้ในประโยคคำถาม เพื่อถามความสามารถ ขออนุญาต และขอความช่วยเหลือต่าง ๆ เช่น

  • I can speak Japanese. ฉันสามารถพูดภาษาญี่ปุ่นได้

Could (สามารถ) – เป็นรูปอดีตของ can ใช้เพื่อบอกความสามารถในอดีต หรือใช้ในประโยคคำถามเพื่อขออนุญาต ขอความช่วยเหลือต่าง ๆ ซึ่งจะมีความสุภาพกว่า can เช่น

  • Could you tell me? คุณช่วยบอกฉันหน่อยได้ไหม

Will (จะ) – ใช้กับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อบอกหรือถามถึงความเป็นไปได้ เช่น

  • I will fly to Japan next month. ฉันจะบินไปญี่ปุ่นเดือนหน้า

Would (จะ) – เป็นรูปอดีตของ will ใช้เพื่อบอกถึงสิ่งที่จะเกิดในอดีต หรือใช้ในประโยคคำถามเพื่อแสดงการขอความช่วยเหลือ ซึ่งจะมีความสุภาพกว่า will เช่น

  • Would you mind opening the door? คุณช่วยเปิดประตูหน่อยให้ได้ไหม

Shall (จะ) – ใช้กับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเหมือน will หรือใช้ในประโยคคำถาม
เชิงเสนอแนะ เช่น

  • Shall we go? เราจะไปไหม

Should (ควรจะ) – ใช้ในการให้คำแนะนำ หรือถามว่าควรหรือไม่ควรทำอะไร

  • Should we go? เราควรไปไหม

May (อาจจะ) – ใช้เพื่อแสดงความเป็นไปได้ หรือใช้ในประโยคคำถามเพื่อขออนุญาต เช่น

  • May I come in, please? ฉันขออนุญาตเข้าไปข้างในได้ไหม

Might (อาจจะ) – เป็นรูปอดีตของ may ใช้เพื่อแสดงความเป็นไปได้ (possibility) แต่จะมีความเป็นไปได้น้อยกว่า may เช่น

  • I might visit my boyfriend in Japan next month. เดือนหน้าฉันอาจจะไปเยี่ยมแฟนหนุ่มของฉันที่ประเทศญี่ปุ่น

Must (ต้อง) – ใช้แสดงความจำเป็น คำแนะนำที่ควรต้องทำ หรือการบังคับ เช่น

  • You must go. คุณต้องไป

เรื่องเกี่ยวกับ Verb ภาษาอังกฤษ ที่ต้องรู้

ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ
tense
คำคมภาษาอังกฤษ

แชร์ไว้อ่าน